โรคกระดูกพรุน

โรคกระดูกพรุน

     อำภารัตน์ แม่บ้านวัย 60 ปี สุขภาพดีแข็งแรง เพราะว่าเธอออกกำลังกายโดยการเล่นแบตมินตันเป็นประจำ วันหนึ่งขณะที่อำภารัตน์กำลังทำงานบ้านอยู่ ได้เกิดอุบัติเหตุลื่นล้มเธอหงายหลังก้นกระแทกพื้น ทำให้เอวข้างซ้ายเจ็บ ขยับตัวไม่ได้ ผลจากการเอกซเรย์ พบว่ากระดูกขาส่วนต้นด้านซ้ายร้าวและหักตามรอยร้าวนั้น  กระดูกหักได้จากการล้มเพียงเล็กน้อย เพราะผู้หญิงวัย 60 ปีขึ้นไป แคลเซียมในร่างกายจะมีปริมาณลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้ความหนาแน่นของกระดูกลดลงตามไปด้วย
     หลังจากได้รับการผ่าตัดและทำกายภาพบำบัดเพียง 1 ปี อำภารัตน์ก็กลับมาออกกำลังกายเบาๆได้อีกครั้ง หลังจากนั้นเธอก็รับประทานอาหารประเภทแคลเซียมเป็นประจำ 6 เดือนผ่านไป อำภารัตน์ก็สามารถทำกิจกรรมต่างๆได้เป็นปกติ จนเวลาผ่านไป 1 ปี เธอสามารถไปตีแบดมินตัน ออกกำลังกายได้เหมือนเดิม แต่ก็ต้องเล่นด้วยความระมัดระวังตามคำเตือนของหมอ แต่เธอกลับคิดว่า ผ่านไปตั้ง 1 ปีแล้ว ไม่น่าจะเกิดอะไร จู่ ๆ  หลังจากที่ตีแบดมินตันเสร็จ  เธอกลับเจ็บแปลบที่สะโพกซ้ายขึ้นมา
     3 วันต่อมา อำภารัตน์ รู้สึกว่าอาการเจ็บตรงต้นขาซ้ายที่เพิ่งเกิดขึ้นนั้นหายดีแล้ว จึงไม่ใส่ใจอะไร เธอจึงวอร์มร่างกายตามปกติ   แต่พบว่าไม่สามารถเอามือแตะปลายเท้าได้เช่นทุกที  และบางทีก็เจ็บสะโพกซ้าย แต่เธอเข้าใจว่าเป็นผลจากการออกกำลังกายจึงไม่คิดอะไร กระทั่ง 2 อาทิตย์ถัดมา ขณะทำสวนหน้าบ้านกับสามี เธอทำกรรไกรตัดกิ่งตกลงไปหลังกองกระถางต้นไม้ใหญ่ สามีจึงคิดจะเก็บให้แต่เอื้อมไม่ถึง จึงเดินไปหาไม้มาเขี่ย เธอไม่อยากรอจึงติดสินใจยกกระถางต้นไม้นั้นออกเอง ทันทีที่เธอก้มลงยกกระถางก็รู้สึกเจ็บแปลบขึ้นอย่างรุนแรง เธอล้มลงกับพื้นด้วยความเจ็บปวด เกิดอะไรขึ้นกับอำภารัตน์กันแน่

     กลุ่มเสี่ยง
     พบมากในกลุ่มผู้สูงอายุทั้งชายและหญิง  ผู้ที่ชอบออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาหนัก ๆ รวมถึงคนที่เคยกระดูกหักมาแล้ว

     อาการที่พึงระวัง
     คนที่เคยกระดูกหักมาแล้ว  มีโอกาสที่จะเกิดโรคกระดูกหักได้อีก  หรือมีอาการเจ็บที่ต้นขาหรือข้อพับบ่อย ๆ และคนที่ออกกำลังกายหักโหมมาเกินไป คนที่มีอาการเหล่านี้บ่งบอกถึงอาการเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกพรุนหรือกระดูกหักได้ง่าย

     ลักษณะของโรคกระดูกพรุน
     โรคหัวกระดูกข้อสะโพกตาย เกิดจากหัวของกระดูกข้อสะโพกที่มีลักษณะเป็นทรงกลมขยับอยู่ในเบ้าเกิดตายเนื่องจากหลอดเลือดที่หล่อเลี้ยงกระดูกเกิดการฉีกขาดจึงไม่สามารถลำเลียงสารอาหารไปหล่อเลี้ยงกระดูกได้ ทำให้กระดูกอ่อนแอจนตายไปในที่สุด เมื่อเกิดการขยับรุนแรงข้อกระดูกบริเวณที่ตายจะทรุดตัวลง
     กลุ่มที่เสี่ยงต่อโรคกระดูกหักที่พบและเป็นอันตรายมากที่สุดคือ กลุ่มผู้สูงอายุที่กระดูกหักบริเวณสะโพกเพราะผู้สูงอายุมักมีโรคประจำตัว และมักเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด รองลงมาคือการหักของกระดูกบริเวณสันหลัง  เมื่อกระดูกพรุนและได้รับการกระแทกแรงๆ ให้กระดูกทรุดตัวลงทีละน้อย ทำให้มีอาการปวดหลัง กระดูกบริเวณข้อมือหักบ่อยซึ่งเกิดขึ้นภายหลังจากที่ล้มแล้วเอามือค้ำยันทำให้กระดูกข้อมือที่รับน้ำหนักหักได้

     วิธีการรักษา
     หัวกระดูกข้อต่อสะโพกตาย สามารถรักษาได้โดยการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกเทียม

     ทุก 30 วินาทีทั่วโลกจะมีคน 1 คนที่กระดูกหักจากภาวะโรคกระดูกพรุน 1 ใน 3 ของผู้หญิง และ 1 ใน 8 ของผู้ชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคกระดูกพรุนได้

     รู้ไว้ ไกลโรค
     โรคกระดูกพรุน หรือกระดูกหัก สามารถป้องกันได้ โดยรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมปริมาณสูง เช่น นมหรือผลิตภัณฑ์จากนม ปลา ผักใบเขียว การออกกำลังกายให้พอเหมาะกับวัย เช่น การเดินเร็ว รำมวยจีน รับประทานยาเสริมแคลเซียม ต้องใช้เวลาประมาณ 6 เดือนขึ้นไป หรือรับประทานต่อเนื่องใช้เวลา 1-3 ปี และการตรวจวัดมวลกระดูกทุก ๆ กระดูกพรุนหรือไม่ โดยบอกเป็นคะแนนที.สกอร์ ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ
     1.  กระดูกปกติ คือมีคะแนนมากว่า -1
     2.  กระดูกบาง คือมีคะแนนอยู่ระหว่าง -2.5 ถึง -1
     3.  กระดูกพรุน คือมีคะแนนต่ำกว่า -2.5

     ***ภาพเอกซเรย์กระดูกสะโพกหัก เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุดในผู้สูงอายุ***
     ***หลอดเลือดขาดทำให้กระดูกตาย เมื่อกระดูกเกิดการแตกหักเสียแล้วทำให้หลอดเลือดฝอยที่ไปเลี้ยงกระดูกฉีกขาด กระดูกจึงไม่มีเลือดไปหล่อเลี้ยง ทำให้กระดูกตาย*** 

     แพทย์ผู้ให้ข้อมูล : นายแพทย์ ธนาวุฒิ  เลิศเอกธรรม  แพทย์หัวหน้าศูนย์กล้ามเนื้อกระดูกและข้อ โรงพยาบาลพญาไท 3