ผลการวิจัยและพัฒนามังคุดกับปัญหาสุขภาพ BIM ผลงานการวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ไทย

 ศูนย์วิจัยและพัฒนามังคุดไทย

 (Thai Mangosteen Research & Development Center) 

นักวิจัย Operation BIM ที่ร่วมก่อตั้งศูนย์วิจัย และพัฒนามังคุดไทย 

 ทีมนักวิจัย Operation BIM ที่ร่วมก่อตั้งศูนย์วิจัย และพัฒนามังคุดไทย 

 ศาสตราจารย์ ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา                     (ประธาน และกรรมการผู้จัดการ บมจ. เอเชียน ไฟย์โตซูติคอลส์)

 รองศาสตราจารย์ ดร.อำไพ ปั้นทอง                     (ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)

 รองศาสตราจารย์ ดร.เสาวลักษณ์ พงษ์ไพจิตร       (ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)

 รองศาสตราจารย์ ดร.วิลาวัลย์ มหาบุษราคัม               (ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์)

 รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริวรรณ องค์ไชย (แย้มนิยม)  (ภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) 

     ศูนย์วิจัย และพัฒนามังคุดไทย จัดตั้งขึ้นในวันที่ 11 มกราคม 2551 โดย นักวิจัยไทยที่ได้ทำการวิจัยสารธรรมชาติในมังคุดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1.เพื่อรวบรวมนักวิจัยไทยที่ดำเนินการเกี่ยวกับสารในมังคุดให้อยู่ในองค์กรเดียวกัน สะดวกต่อการแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูล ทำให้ไม่เกิดการสูญเสียเวลา และงบประมาณจากการทำการวิจัยซ้ำซ้อน

2.เพื่อประสานให้นักวิจัยร่วมวางแผนการวิจัยเพิ่มเติม ได้ข้อสรุปเชิงวิชาการที่จะช่วยยกระดับคุณภาพ และสรรพคุณของของผลิตภัณฑ์มังคุดไทย อาทิ เช่น การทดสอบประสิทธิภาพ และความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์มังคุดไทยในการเสริมสร้างสุขภาพ และป้องกันโรคต่างๆ ในคนซึ่งจำเป็นจะต้องอาศัยความร่วมมือของนักวิจัยจากหลายสาขาความเชี่ยวชาญและงบประมาณที่สูง

3.เพื่อประสานให้นักวิจัยไทยใช้ผลงานและข้อมูลของงานวิจัยเกี่ยวกับสารในมังคุดในการร่วมสร้างอุตสาหกรรมที่มั่นคงและยั่งยืนกับชาวสวน และนักอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์มังคุด อันจะก่อให้เกิดประโยชน์แก่ชาวสวนในการเพิ่มมูลค่าของผลผลิต เกิดประโยชน์แก่ชาวสวนในการเพิ่มมูลค่าของผลผลิต เกิดประโยชน์แก่นักอุตสาหกรรมในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มและเกิดประโยชน์แก่นักวิจัยเองในเชิงสร้างความภาคภูมิใจและค่าสมนาคุณที่เหมาะสม

4.เพื่อนำเสนอผลงาน และข้อมูลงานวิจัยสารในมังคุดจนถึงปัจจุบัน และที่เกิดขึ้นในอนาคตอย่างเป็นเอกภาพ และครบวงจรให้กับวงการวิชาการ วงการธุรกิจ และประชาชนทั่วไป ทั้งในและต่างประเทศ สร้างความเชื่อมั่นและการยอมรับในประโยชน์ จากการใช้ผลิตภัณฑ์มังคุดในกลุ่มผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มผู้บริโภคที่มีความรู้ และการศึกษาในประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งจะทำให้สามารถเพิ่มปริมาณและมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ไปต่างประเทศในที่สุด

 

 เริ่มต้นจากการวิจัยผลมังคุด

          เมื่อปี พ.ศ. 2520 คณะนักวิจัยที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ซึ่งประกอบด้วย ดร.วิลาวัลย์ มหาบุษราคัม, ดร.เสาวลักษณ์ พงษ์ไพจิตร, ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา และนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดร.อำไพ ปั้นทอง รวมทั้งนักวิทยาศาสตร์สหวิชาการอีกหลายท่านเริ่มทำการศึกษาสารธรรมชาติในมังคุด ด้วยการสกัดสารบริสุทธิ์แล้วทำการทดสอบประโยชน์ในทางการแพทย์ด้านต่างๆ ก่อนจะสรุปได้ว่า สารในมังคุดที่มีคุณสมบัติในการสร้างเสริมสุขภาพ คือ สารกลุ่ม Xanthones ซึ่งในมังคุดมีสารกลุ่ม  Xanthones   นี้อยู่ว่า 40 ชนิด แต่มีเพียงบางชนิดเท่านั้นที่มีประโยชน์ บางชนิดอาจมีผลข้างเคียงได้ และชนิดที่มีประโยชน์ หากใช้น้อยเกินไปก็จะไม่แสดงสรรพคุณ แต่ถ้าใช้มากไปก็อาจจะเกิดโทษได้ ดังนั้นการนำ Xanthones ไปใช้ในการเสริมสร้างสุขภาพ จึงจำเป็นต้องใช้ให้ถูกต้องและใช้ในปริมาณที่เหมาะสมเท่านั้น

        ผลจากการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่องของคณะนักวิจัยจากศูนย์วิจัยและพัฒนามังคุดไทยพบว่า Xanthones ที่มีสรรพคุณสูงสุด คือ GM-1 ซึ่ง GM-1 เป็นสารที่ปลอดภัย โดยปลอดภัยกว่าสารที่ให้รสเปรี้ยวในส้มถึง 5 เท่า และมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

1. ต้านเชื่อแบคทีเรีย

2. ต้านการอักเสบ

3. ระงับการปวดและลดอาการแพ้

4. ต้านอนุมูลอิสระ ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ซึ่งเกิดจาก LDL Cholesterol Oxidation 

5. ฆ่าเซลล์มะเร็งในเต้านม มะเร็งในเม็ดเลือด มะเร็งในตับ มะเร็งในไต มะเร็งในทางเดินอาหาร และมะเร็งในปอด(ทดสอบในหลอดทดลอง)

6. ระงับการเจริญเติบโตของเชื้อวัณโรค(ทดสอบในหลอดทดลอง)

7. ระงับการขยายตัวของเชื้อ HIV(ทดสอบในหลอดทดลอง)

8. เพิ่มความสามารถของเม็ดเลือดขาวในการกำจัดสิ่งแปลกปลอม และเชื้อแบคทีเรีย(Phagocytic activity)

9. ระงับการเสื่อมสลายของกระดูกอ่อนและสร้างมวลกระดูก

พัฒนาเป็นอาหารที่สร้างความสมดุลของภูมิคุ้มกัน

       คณะนักวิจัย Operation BIM จากศูนย์วิจัยและพัฒนามังคุดไทยได้ริเริ่มแนวทางใหม่ ด้วยการใช้อาหารสร้างภูมิคุ้มกันให้สมดุลเพื่อป้องกันโรคภัย ซึ่งสามารถนำสาร GM-1 มาใช้ให้เป็นองค์ประกอบซึ่งอยู่ใน สูตรผลิตภัณฑ์เสริมอาหารได้ โดยมีองค์ประกอบของ GM-1 อยู่ และพบว่าสูตรอาหารที่ได้จากมังคุดจะมีประสิทธิภาพสูงขึ้นเป็นทวีคูณ เมื่อเสริมด้วยสารสกัดจากธัญพืชและผลไม้ เช่น ถั่วเหลือง งาดำ ฝรั่ง และบัวบก จากการศึกษาอย่างต่อเนื่อง พบว่าสูตรอาหารนี้มีประสิทธิภาพ สูงในการปรับระดับภูมิคุ้มกันให้สมดุล จึงเรียกสูตรอาหารนี้ว่า ” BIM ” ซึ่งย่อมาจาก Balencing IMmunity (ภูมิคุ้มกันที่สมดุล) แล้วขึ้นทะเบียนเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกับคณะกรรมการอาหารและยา

การสร้างภูมิคุ้มกันที่สมดุล เป็นมิติใหม่ของการดูแลสุขภาพ

       ภูมิคุ้มกันที่สมดุลขึ้นอยู่กับการทำหน้าที่อย่างสมดุลของเม็ดเลือดขาว 4 ชนิด คือ

1. Th1 กระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันจัดการกับเชื้อรา แบคทีเรีย ไวรัส และมะเร็ง ได้ดีขึ้น

2. Th2 กระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันจัดการกับสารก่อภูมิแพ้ และหนอนพยาธิ ได้ดีขึ้น

3. Th3 กระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันจัดการกับสารก่อสิ่งแปลกปลอมทั้งหลายที่เหลือจากการจัดการของ Th1 และ Th2

     Th1, Th2 และ Th17 เมื่อมีมากเกินไปจะทำให้เกิดภูมิคุ้มกันมากเกินไป จนเกิดอาการแพ้ภูมิตัวเอง

4. Treg กระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันที่มากเกินไป กลับสู่สภาวะสมดุล

 

 ผลิตภัณฑ์อื่นๆ 

ติดต่อหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

คุณ ณปภัช จงธีรโชติ (ผู้บริหารศูนย์จำหน่ายสุขและสวย โดย BIM100 และ เอเชี่ยนไลฟ์)

33,35,37 ซอย เอกชัย 76 ถนน เอกชัย แขวง บางบอน เขต บางบอน กรุงเทพ 10150 

โทร : 091-9149641 , 095-5199546 , 094-9639614  Line ID:tick_napraphat
E-mail : [email protected]